คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาตำรับเบญจกูลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิเทียบกับยาไดโคลฟิแนค (งานวิจัยคลินิกระยะที่ 2)
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
-
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
ปิยะ ปิ่นศรศักดิ์
อรุณพร อิฐรัตน
ปัฐมาภรณ์ ราชวัฒน
ภูริทัต กนกกังสดาล
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
23
0
คำสำคัญของงานวิจัย
เบญจกูล, ข้อเข่าเสื่อม, งานวิจัยคลินิก
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
เบญจกูล เป็นตำรับยาสมุนไพรไทยที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน มีสรรพคุณในการปรับสมดุลของธาตุ ในร่างกาย จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดชั้นเอทธานอลของต ารับเบญจกูลมีฤทธิ์การต้านการอักเสบและลดอาการปวดได้ดี เมื่อทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง ไม่พบพิษในทุกระบบ และการทดลองในอาสาสมัครสุขภาพดี ก็ไม่พบพิษแต่อย่างใด ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยาสารสกัดเบญจกูลในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิโดยเปรียบเทียบกับยาไดโคลฟิแนค ใช้วิธีการศึกษาแบบสุ่มปกปิดสองข้าง ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว โดยอาสาสมัคร จำนวน 84 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มได้รับยาสารสกัดเบญจกูล 100 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร จำนวน 42 คน และกลุ่มได้รับยาไดโคลฟิแนค 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร จำนวน 42 คน อาสาสมัครทั้งหมดจะได้รับยาเป็นเวลา 28 วัน และติดตามอาการในวันที่ 14 และ 28 ประเมินประสิทธิผลการรักษาจากระดับความเจ็บปวดข้อเข่าหลังเดิน 100 เมตร, ระยะเวลาที่ใช้ในการเดิน 100 เมตร, คะแนนจากแบบทดสอบ Modified Thai WOMAC index และการประเมินผลการรักษาโดยรวม เมื่อสิ้นสุดการรักษา ส่วนการประเมินความปลอดภัย ประเมินจากการตรวจร่างกาย และค่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การท างานของตับและการทำงานของไต จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาครบตามก าหนดเวลาทั้งสิ้น 77 คน เป็นอาสาสมัครกลุ่มยาสารสกัดเบญจกูล 39 คน และกลุ่มยาไดโคลฟิแนค 38 คน เมื่อศึกษาประสิทธิผล พบว่าทั้งยาสารสกัดเบญจกูลและยาไดโคลฟิแนคสามารถลดระดับความปวดข้อเข่าหลังเดินและเวลาที่ใช้ในการเดิน 100 เมตรได้ แต่มีเพียงยาไดโคลฟิแนคที่สามารถลดระดับความปวดและเวลาที่ใช้ในการเดินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรับยา (วันที่ 0) ในส่วนของคะแนนจากการท าแบบทดสอบModified Thai WOMAC index แสดงให้เห็นว่ายาทั้งสองชนิดสามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นในทุกด้านได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ แต่ยาไดโคลฟิแนคจะแสดงประสิทธิผลอย่างชัดเจนได้รวดเร็วกว่าเมื่อรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน ในขณะที่ยาสารสกัดเบญจกูลจะแสดงประสิทธิผลอย่างชัดเจนได้ช้ากว่าที่เวลา 28 วัน อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลเมื่อสิ้นสุดการศึกษาวิจัยพบว่า ยาสารสกัดเบญจกูลและยาไดโคลฟิแนคไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ ทั้งในด้านประสิทธิผลในการลดอาการปวด, เวลาที่ใช้ในการเดิน 100 เมตร, คะแนนจากแบบทดสอบ Modified Thai WOMAC index และการประเมินผลการรักษาโดยรวมสำหรับการศึกษาถึงความปลอดภัยในผู้ป่วยพบว่า อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดของอาสาสมัครกลุ่มยาสารสกัดเบญจกูลคือ อาการร้อนคอ, คอแห้ง หรือร้อนท้อง ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดของอาสาสมัครกลุ่มยาไดโคลฟิแนคคืออาการ แสบอก อย่างไรก็ตามอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและไม่พบความแตกต่างเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ ทั้งนี้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าการรับประทานยาสารสกัดเบญจกูลต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วันนั้น ไม่พบพิษต่อตับและไต ในขณะที่ยาไดโคลฟิแนคแสดงถึงแนวโน้มทางเคมีของตับและไตเพิ่มค่าขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบค่าการประเมินการท าหน้าที่ของตับระหว่างอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่พบว่าค่า BUN จากการประเมินการทำหน้าที่ของไตระหว่างอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ายาไดโคลฟิแนคมีผลให้ค่า BUN เพิ่มขึ้นแตกต่างจากยาสารสกัดเบญจกูลอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติจากการศึกษาวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่ายาสารสกัดเบญจกูลมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิได้ไม่แตกต่างจากยาไดโคลฟิแนค เมื่อได้รับยาอย่างต่อเนื่อง 28 วัน และมีความปลอดภัยในเกณฑ์ที่ดีกว่าคือไม่พบความเป็นพิษต่อตับและไต
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
สำนักงานบริหารกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาตำรับเบญจกูลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิเทียบกับยาไดโคลฟิแนค (งานวิจัยคลินิกระยะที่ 2).pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน