คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
โครงการเพาะขยายพันธุ์หัวร้อยรู (Hydnophytum formicarum Jack.)
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
-
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
ดวงแขฑิตา กาญจนโสภา
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
0
3
คำสำคัญของงานวิจัย
หัวร้อยรู, การขยายพันธุ์, วัสดุเพาะ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
หัวร้อยรูเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำไปใช้ในตำรับยาหมอพื้นบ้านของประเทศไทย โดยใช้ส่วนหัวประกอบ ในสูตรตำรับยา ปัจจุบันหัวร้อยรูในธรรมชาติมีปริมาณลดลง ประกอบกับการขยายพันธุ์หัวร้อยรูแบบไม่อาศัยเพศไม่สามารถสร้างหัวได้ มีเพียงการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเท่านั้น ที่ลำต้นใต้ใบเลี้ยงมีการขยายตัวไปเป็นหัว งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโต และศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์หัวร้อยรูในสภาพปลอดเชื้อ เพาะเมล็ดหัวร้อยรูในวัสดุเพาะเป็นเวลา 35 วัน พบว่า เมล็ดหัวร้อยรูมีอัตราการงอกสูงที่สุด 84.99 เปอร์เซ็นต์ ในวัสดุ เพาะขุยมะพร้าว: ทราย: ขี้เลื่อย (1:1:1) ซึ่งทุกวัสดุเพาะจำนวนวันงอกโดยเฉลี่ย 14.36 วัน หลังจากนั้นนำต้นหัวร้อยรู ย้ายลงปลูกในกระถางขนาด 6 นิ้ว ที่มีวัสดุเพาะเดิมเป็นระยะเวลา 9 เดือน พบว่าต้นกล้าหัวร้อยรูที่ย้ายปลูกในขุยมะพร้าว: ทราย: ขี้เลื่อย (1:1:1) ทำให้ความกว้างหัวเพิ่มขึ้น 1.24 เซนติเมตร และให้ความสูงต้นเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3.4 เซนติเมตร ซึ่งเป็นวัสดุเพาะที่มีส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้ยางพาราจะทำให้การงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของหัวร้อยรูดีที่สุด ในการปักชำกิ่งหัวร้อยรูโดยใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ทราย อัตราส่วน 1: 1 แล้วจุ่มโคนกิ่งปักชำด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต NAA ในความเข้มข้นต่างๆ และไม่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต (ชุดควบคุม) พบว่ากิ่งปักชำที่ไม่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตให้เปอร์เซ็นต์การเกิดยอดสูงสุด 23.33 เปอร์เซ็นต์ ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์หัวร้อยรูในสภาพปลอดเชื้อ โดยใช้ชิ้นส่วนยอดจากต้นปลอดเชื้อ และเมล็ดหัวร้อยรูมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS, ½ MS, B5, LS, SH และ WPM เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนยอดที่เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร ½ MS และ B5 เกิดยอดใหม่ได้มากที่สุด 100 เปอร์เซ็นต์ และเกิดใบเฉลี่ยมากที่สุด 2.0 และ 2.3 ใบต่อชิ้นส่วน ตามลำดับ ในขณะที่การเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร WPM เกิดรากเฉลี่ยมากที่สุด 4.0 รากต่อชิ้นส่วน และพบว่าการเพาะเลี้ยงเมล็ดบนสูตรอาหาร ½ MS มีเปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยสูง 98.33 เปอร์เซ็นต์ และมีความสูงต้นเฉลี่ยสูงสุด 2.59 เซนติเมตร และเมื่อเพาะเลี้ยงเมล็ดบนสูตรอาหาร B5 มีขนาดหัวเฉลี่ยสูงสุด 0.315 เซนติเมตร ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับชักนำแคลลัสจากชิ้นส่วนใบ ยอด ลำต้น และหัว โดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตความเข้มข้นต่าง ๆ สูตรอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร กระตุ้นให้ชิ้นส่วนเกิดแคลลัสได้สูง 70 เปอร์เซ็นต์ และสูตรอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตรทำให้แคลลัสมีน้ำหนักสูง 0.116 กรัม และพบว่าชิ้นส่วนยอดเป็นชิ้นส่วนที่มีศักยภาพในการกระตุ้นให้เกิดแคลลัสสูงสุด 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากชิ้นส่วนพืชมีเนื้อเยื่อเจริญจำนวนมาก
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
สำนักงานบริหารกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
โครงการเพาะขยายพันธุ์หัวร้อยรู (Hydnophytum formicarum Jack.).pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
หัวร้อยรู : Hydnophytum formicarum Jack
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน