คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อสนับสนุนงานแพทย์แผนไทยของศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
-
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
-
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
ภาณุพันธ์ ชูดวง
กรวิทย์ ใจจิตร
ยุทธนา อินทร์ศักดิ์
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 14 ฉบับที่2 (ฉบับเสริม)
เจ้าของลิขสิทธิ์
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
สังคม
45
49
คำสำคัญของงานวิจัย
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
หลักการและเหตุผล ผลสำรวจทางสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือนเมื่อเจ็บป่วย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประชาชนเลือกใช้สมุนไพร/ยาแผนไทยรักษาอาการ (ร้อยละ 18.8) และเลือกที่จะไปพบแพทย์แผนไทย/หมอพื้นบ้านเพียงร้อยละ 4.3 อีกทั้งประชาชน ร้อยละ 41.6 ไม่รู้จักและไม่เคยใช้ยาแผนไทย/สมุนไพรในการรักษาโรค และผู้ที่รู้จักแต่ไม่เคยใช้ร้อยละ 36.5 ส่วนประชาชนที่รู้จักและเคยใช้ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 21.9 อย่างไรก็ตามผลสำรวจได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อการแพทย์แผนไทยและยาแผนไทยซึ่งพบว่าประชาชนร้อยละ 87.6 เห็นควรสนับสนุนให้ใช้สมุนไพรไทยเพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพของคนชุมชน และมีความเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการแพทย์แผนไทยและยาแผนไทยน้อยเกินไป (ร้อยละ 86.3) รัฐบาลควรให้การอุดหนุนและสนับสนุนสถานพยาบาลของรัฐให้ใช้ยาแผนไทยมากขึ้น (ร้อยละ 84.8) (ไทยรัฐออนไลน์, 2557) ดังนั้นการพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อสนับสนุนงานแพทย์แผนไทยจึงเป็นเสมือนเครื่องมือช่วยสนับสนุนงานบริการด้านการแพทย์แผนไทย และช่วยเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยให้เป็นที่ยอมรับและรู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ พัฒนาแอพพลิเคชันบนเว็บ (Web Application) เพื่อนำไปช่วยสนับสนุนงานบริการต่างๆ ของศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการดำเนินการ พัฒนาด้วยโปรแกรม Atom v. 1.5.3 โดยใช้ภาษา PHP, HTML, JavaScript, SQL, CSS และ Apache ร่วมกับโปรแกรมช่วยจัดการฐานข้อมูล MySQL ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือรุ่นที่สูงกว่า และดำเนินการตามกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยมี 10 ขั้นตอน คือ (1) สำรวจและศึกษาปัญหาของศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี (2) วางแผนงาน (3) เก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดลักษณะของแอพพลิเคชัน (4) ออกแบบแอพพลิเคชัน โดยการสร้างต้นแบบ (5) เขียนโปรแกรมจากต้นแบบ (6) ทดสอบการทำงานโดยทีมผู้พัฒนา (7) ทดสอบซอฟต์แวร์เพื่อการยอมรับโดยกลุ่มผู้ใช้งาน (8) ติดตั้งและบำรุงรักษาแอพพลิเคชัน (9) อบรมการใช้งานให้กับกลุ่มผู้ใช้และ (10) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมิน ผลการศึกษา แอพพลิเคชันเพื่อสนับสนุนงานแพทย์แผนไทย สามารถแสดงข้อมูลต่าง ๆ ได้ ตามขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ 10 ส่วน ได้แก่ (1) จัดการข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี (2) จัดการข้อมูลตารางเวลางาน (3) จองคิวการรักษา (4) เผยแพร่สาระน่ารู้ด้านแพทย์แผนไทย (5) สอบถามข้อมูลโดยผู้ใช้บริการ (6) ค้นหาข้อมูลเวชระเบียน ตารางนัดหมาย และข้อมูลประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับศูนย์ (7) บันทึกข้อมูลการตรวจรักษา (8) รายงานต่าง ๆ เช่น สรุปจำนวนผู้มาใช้บริการและค่าบริการต่อวัน จำนวนผู้จองคิวเพื่อการรักษา หรืออื่นๆ เป็นต้น (9) ประเมินความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ และ (10) ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และมีผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้งานแอพพลิเคชัน โดยตัวแทนบุคลากรของศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี ทั้ง 5 กลุ่ม ๆ ละ 1 คน ประกอบด้วย แพทย์แผนไทย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย เจ้าหน้าที่ลงข้อมูล และผู้มาใช้บริการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.24 จากคะแนนเต็ม 5 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี ข้อสรุป แอพพลิเคชันนี้ สามารถทำงานได้ครบตามขอบเขตของโครงการที่นำเสนอต่อกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และผ่านเกณฑ์การประเมินความพึงพอใจ โดยได้คะแนนเฉลี่ย 3.51 (คะแนนเต็ม 5) และ ติดตั้งอยู่ที่เว็บไซต์ “http://www.saraphialternative.com/” เพื่อให้บุคลกรทดลองใช้งาน
วันเดือนปีที่พิมพ์
4/9/2559
ที่อยู่ผู้พิมพ์
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อสนับสนุนงานแพทย์แผนไทยของศูนย์แพทย์ทางเลือกสารภี.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน