คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับข้อมูลสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก


กระทู้ : ขอทราบข้อมูลคุณสมบัติทางยาของน้ำตะไคร้ใบเตยค่ะ


แหล่งอ้างอิง : -
ผู้ตั้งกระทู้ : กร   วันที่ : 20/05/2561 13:42:00 จำนวนคนอ่านกระทู้ : 487   จำนวนคนตอบกระทู้ :3


ความคิดเห็นที่ : 1

เรียนคุณกร น้ำตะไคร้ใบเตยนั้นจัดเป็นสมุนไพร ยังไม่จัดว่าเป็นยาค่ะ ถ้าที่คุณกรถามหมายถึงสรรพคุณของพืช จะขออธิบายถึงแยกสรรพคุณแต่ละตัวค่ะ น้ำตะไคร้ใบเตย ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ 3 ส่วน คือ น้ำตาล ตะไคร้ และเตยหอม ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทยนั้น สรรพคุณของต้นตะไคร้ หรือที่จริง ๆ แล้วควรเรียกว่าส่วนกาบใบนั้น มีรสปร่า กลิ่นหอม สรรพคุณช่วยแก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร ส่วนเหง้า หากนำมาคั่วไฟให้เหลือง ชงน้ำรับประทาน ใช้เป็นยาแก้ขัดปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้น้ำเบาพิการได้

แหล่งอ้างอิง : ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรและเครื่องยาไทยในยาสามัญประจำบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา จำกัด, ๒๕๕๗. ๕๗๗ หน้า.
ผู้ตอบกระทู้ : ภญ.ศตพร สมเลศ วันที่ : 15/06/2561 14:50:21

ความคิดเห็นที่ : 2

ทีนี้ จะกล่าวในถึงส่วนของเตย หรือ เตยหอม ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทยนั้น ส่วนที่มักนำมาใช้คือ ส่วนใบ ซึ่งมีรสเย็นหวาน ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ส่วนต้นและราก สรรพคุณ คือ ขับปัสสาวะ แก้กษัย น้ำเมาพิการ ข้าวกระยาคูซึ่งใช้ข้าวน้ำนมกับนมสดใส่ใบเตยหอมเพื่อให้คนไข้รับประทาน เกิดกำลัง ทำให้จิตใจผ่องใส

แหล่งอ้างอิง : -
ผู้ตอบกระทู้ : ภญ.ศตพร สมเลศ วันที่ : 15/06/2561 14:53:26

ความคิดเห็นที่ : 3

ส่วนประกอบที่ 3 คือ น้ำตาล ซึ่งอาจจะเป็นน้ำตาลกรวด หรือ น้ำตาลทรายขาว/แดง ก็ได้ น้ำตาล มีรสหวาน สรรพคุณคือ ช่วยให้พลังงาน บำรุงกำลัง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สรรพคุณของน้ำตะไคร้ใบเตยโดยรวมคือ รสหวาน กลิ่นหอม ขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ชุ่มชื่นใจ รับประทานแล้วเกิดกำลังวังชา อย่างไรก็ตามการรับประทานน้ำตะไคร้ใบเตยนั้น ควรหลีกเลี่ยงการทำให้หวานจัดโดยการใส่น้ำตาลลงไปในปริมาณมาก เนื่องจากอาจก่อนให้เกิดผลเสียในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากจะไปมีผลกับระดับน้ำตาลในเลือดของคนไข้ได้

แหล่งอ้างอิง : ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรและเครื่องยาไทยในยาสามัญประจำบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา จำกัด, ๒๕๕๗. ๕๗๗ หน้า.
ผู้ตอบกระทู้ : ภญ.ศตพร สมเลศ วันที่ : 15/06/2561 14:58:49



รายละเอียด :
แหล่งอ้างอิง(ถ้ามี) :
   
 
  •  
  •  
 
 
 
   

ชื่อผู้ตอบกระทู้ :