คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรไทย ปีที่ 3
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
Development of anti-cancer Thai medicinal plant recipe products from Thai medicinal plant recipe database, The 3rd year
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
จีรเดช มโนสร้อย
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
2
5
คำสำคัญของงานวิจัย
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
โครงการวิจัยปีที่ 3 นี้ได้รวบรวมและคัดเลือกคัมภีร์ตำรับยาสมุนไพรจากภาคเหนือ/ล้านนาและภาคอื่นๆในประเทศไทย แล้วนำมาปริวรรต (แปล) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสนับสนุน: ตำรับยาสมุนไพรต้านมะเร็ง “ฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรของประเทศไทยมโนสร้อย ๓” โดยได้ตำรับยาสมุนไพรเพิ่มจากโครงการวิจัยปีที่ 2 อีกจานวน 36 ตารับ เป็นรวมทั้งสิ้น 723 ตารับ โดยสามารถสืบค้นจากคำสำคัญ 2 คำ ซึ่งได้แก่ สาน และมะเร็ง จากนั้นคัดเลือกตำรับยาสมุนไพรที่มีศักยภาพในการต้านมะเร็งโดยใช้ความถี่ ได้ตำรับยาสมุนไพรต้านมะเร็ง ทั้งนี้ในปี 3 ที่มีตำรับยาสมุนไพรต้านมะเร็งที่จะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมจากปีที่ 2 อีกจำนวน 20 ตำรับ รวมทั้งสิ้น 191 ตำรับ มาเตรียมเป็นสารสกัดโดยวิธีการที่ระบุในตารับ จากผลการเตรียมสารสกัดพบว่า percentage yield อยู่ในช่วง 10.45– 41.00 % สารสกัดที่ได้ส่วนใหญ่ให้ผลบวกกับสารประเภท glycosides, tannins, flavonoids และ xanthones จากนั้นนำสารสกัดตำรับยาสมุนไพรที่เตรียมได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็ง 4 ชนิด ในหลอดทดลองโดยวิธี sulforhodamine B (SRB) assay ซึ่งได้แก่ มะเร็งช่องปาก (KB) มะเร็งปากมดลูก (HeLa) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) และ มะเร็งตับ (Hep G2) พบว่า ตำรับยาสมุนไพรที่คัดเลือกเพิ่มเติมทั้ง 20 ตำรับ ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งช่องปาก (KB) มะเร็งปากมดลูก (HeLa) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) และมะเร็งตับ (Hep G2) โดยมีค่า IC50 มากกว่า 1,000 μg/ml อย่างไรก็ตาม เมื่อนำผลการทดสอบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับผลการทดสอบของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรที่คัดเลือกมาแล้วจานวน 171 ตำรับในโครงการวิจัยปีที่ 1 และ 2 เป็นรวมจำนวนทั้งสิ้น 191 ตารับ พบว่าตำรับ อส028 น040 น092 และ น036 เป็นตำรับที่สามารถยั้บยั้งเซลล์มะเร็งช่องปาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งตับได้สูงสุด ตามลาดับ ตำรับดังกล่าวนี้มีศักยภาพสูงสุดที่จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งต่อไป ในการเตรียมสารสกัดจากตำรับสมุนไพรต้านมะเร็งที่คัดเลือกมาจานวน 4 ตารับ พบว่า percentage yield อยู่ในช่วง 6.43–19.50 % จากการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งแบบอะพอพโตซิสของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรต้านมะเร็งที่คัดเลือกมาโดยวิธีย้อมสีผสม acridine orange และ ethidium bromide (AO/EB) พบว่า สารสกัดตำรับ อส028 น040 น092 และ น036 สามารถกระตุ้นการตายแบบอะพอพโทซิสได้ในเซลล์มะเร็งทั้ง 4 ชนิด ซึ่งได้แก่ เซลล์มะเร็งช่องปาก (KB) มะเร็งปากมดลูก (HeLa) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) และมะเร็งตับ (Hep G2) โดยมีค่า maximum apoptosis เท่ากับ 16.95, 2.65, 5.33 และ 4.57 % ตามลำดับ ซึ่งมีความแรงคิดเป็น 1.8606, 0.7615, 1.9453 และ 1.5083 เท่าของยามาตรฐาน cisplatin ตามลาดับ นอกจากนี้สารสกัดตำรับยาทั้ง 4 ตำรับดังกล่าว ยังสามารถกระตุ้นการตายแบบอะพอพโตซิสต่อเซลล์มะเร็งโดยมีผลในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ caspase-3 โดยสารสกัดตำรับ อส028 น040 น092 และ น036 มีค่า fold increasing ต่อเซลล์มะเร็ง KB, HeLa, HT-29 และ Hep G2 เท่ากับ 1.63, 1.21, 2.87 และ 1.21 เท่าของกลุ่มควบคุมตามลาดับ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้น การตายแบบอะพอพโตซิสคิดเป็น 1.52, 1.05, 2.33 และ 1.05 เท่าของยามาตรฐาน cisplatin ในการศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพและจัดทา specification ของสารสกัดจากตำรับยาสมุนไพรต้านมะเร็งที่คัดเลือกมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ พบว่าสารสกัดตารับ อส028, น040 และ น092 สามารถละลายในน้ำได้แบบ sparingly soluble ในขณะที่สารสกัดตารับยาสมุนไพร น036 ละลายในน้าได้แบบ slightly soluble สารสกัดทั้ง 4 ตำรับ ไม่คงตัวต่อ เบสแก่และ reducing agent เมื่อนำสารสกัดตำรับยาที่คัดเลือกมาทั้ง 4 ตารับ ไปศึกษาความปลอดภัยและฤทธิ์ต้านมะเร็งในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดตารับยา น040 อส028 น092 และ น036 มีความปลอดภัยในสัตว์ทดลองโดยไม่พบสัตว์ทดลองตายและไม่มีอาการผิดปกติในระหว่างการทดสอบความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรัง (subchronic toxicity) รวมทั้งมีผลการตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาและชีวเคมีอยู่ในเกณฑ์ปกติ สาหรับพยาธิสภาพของอวัยวะภายในของสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดตารับสมุนไพรทาให้มีความเป็นพิษต่อบางอวัยวะซึ่งได้แก่ ปอด ตับ ไต และ ลาไส้เล็ก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขนาดของสารสกัดตารับยาสมุนไพรดังกล่าวที่ใช้ในการทดสอบมีขนาดค่อนข้างสูง (1,000 mg/kg body weight) ซึ่งมีขนาดสูงกว่าขนาดยาที่ใช้ในการรักษาของสารสกัดตารับยา น040 อส028 น092 และ น036 ประมาณ 112, 186, 61 และ 109 เท่า ตามลาดับ ดังนั้น สารสกัดตารับยาดังกล่าวจึงมีความปลอดภัยในสัตว์ทดลองและสามารถนาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาต้านมะเร็งเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อไป สาหรับผลการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งในสัตว์ทดลองโดยวิธี human tumor xenograft พบว่าสารสกัดตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง ตารับ น040 อส028 และ น092 สามารถออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งปากมดลูก (HeLa) มะเร็งช่องปาก (KB) และมะเร็งลาไส้ใหญ่ (HT-29) ได้ โดยมีค่า % maximum inhibition ของตารับ น040 และ อส028 เท่ากับ 57.23 และ 49.26% ตามลำดับ ซึ่งมีความแรงคิดเป็น 0.65 และ 0.69 เท่าของยามาตรฐาน cisplatin ตามลาดับและค่า %maxinum inhibition ของตารับ น092 เท่ากับ 77.90% ซึ่งมีความแรงคิดเป็น 1.76 เท่าของมาตรฐาน 5-fluorouracil โดยสารสกัดตำรับยาดังกล่าวมีความปลอดภัยในการนำไปใช้เนื่องจากไม่พบว่ามีการตาย การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและไม่มีผลข้างเคียงในหนูที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดตำรับยาดังกล่าว ดังนั้น ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งทั้ง 3 ตำรับ จึงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องปาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเซลล์มะเร็งตับ (Hep G2) ไม่มีคุณสมบัติเหนี่ยวนาให้เกิดก้อนมะเร็ง จึงไม่สามารถนามาศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งตับของตำรับยา น036 ในสัตว์ทดลองได้ อย่างไรก็ตาม ตำรับยา น036 ยังคงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านมะเร็งตับ เนื่องจากตารับยาดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับ (Hep G2) ในหลอดทดลองสูงสุดและสามารถกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตับเกิดการตายแบบอะพอพโตซิส ตลอดจนมีความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง ดังนั้นจึงได้คัดเลือกสารสกัดตารับทั้ง 4 ตารับดังกล่าว ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบแคปซูลจากสารสกัดตารับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งที่อยู่ในรูปแกรนูลโดยใช้ lactose monohydrate และ Comprecel M101 เป็นสารเพิ่มปริมาณ โดยไม่ใช้สารยึดเกาะ ตำรับแคปซูลทั้ง 4 ตำรับ ที่พัฒนาได้มีค่าการแปรปรวนของน้าหนักและการแตกตัวอยู่ในเกณฑ์ที่กาหนด รวมถึงมีความคงตัวของปริมาณสารสาคัญ ซึ่งได้แก่ tannin สาหรับสารสกัดตำรับ อส028 และ brazilin สาหรับสารสกัดตารับ น040 และ น036 และ gallic acid สาหรับสารสกัดตำรับ น092 เมื่อเก็บไว้ในสภาวะต่างๆ ที่ 4+2, 25+2 และ 45+2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 เดือน จากการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์แคปซูลที่มีส่วนผสมของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรต้านมะเร็งในอาสาสมัคร พบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในลักษณะภายนอกของแกรนูลของผลิตภัณฑ์แคปซูลจากสารสกัดตารับยาสมุนไพรทั้ง 4 ตารับ คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์แคปซูลสาร สกัดตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งตำรับ น040 ไปทดสอบในผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก ที่ดำเนินการโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากสารสกัดตารับยาดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านมะเร็งปากมดลูก (HeLa) ในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง และมีความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง ตลอดจนผลิตภัณฑ์แคปซูลจากสารสกัดตำรับยาดังกล่าวมีความคงตัวทางกายภาพและเคมีโดยมีปริมาณสารสาคัญซึ่งได้แก่ brazilin คงเหลือมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับอื่นหลังจากเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือน สาหรับต้นทุนการผลิตของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง น040 มีค่าเท่ากับ 315.90 บาท/100 g ในขณะที่ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งในรูปแบบแคปซูลจากสารสกัดตำรับยาสมุนไพร น040 มีค่าเท่ากับ 206.59 บาท/ 100 แคปซูล หรือ 2.07 บาท ต่อ 1 แคปซูล โดยสารสกัดตารับยาสมุนไพร น040 และผลิตภัณฑ์ยาแคปซูลจากสารสกัดตารับยาสมุนไพร น040 สามารถเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในตารับได้ประมาณ 24 เท่าเมื่อเทียบกับสารสกัดมีราคาถูกกว่า Taxol® ประมาณ 30 เท่า จากผลการวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง “ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาโรคมะเร็งรูปแบบรับประทานจากตารับยาสมุนไพรไทย” โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอจด และ ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง “Potent anti-cervical cancer activity: Synergistic effects of Thai medicinal plants in recipe N040 selected from the MANOSROI III database” แล้วในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Journal of Ethnopharmacology, 143(2013) : 288-296 (Impact factor = 2.939) จากผลการวิจัยนี้ สามารถสรุปได้ว่าตารับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูล “มโนสร้อย 3” มีศักยภาพสูงที่จะสามารถนามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาต้านมะเร็งได้
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรไทย ปีที่ 3.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน