คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยามธุรเมหะ (สูตรอาจารย์นิรันดร์ พงศ์สร้อยเพ็ชร และมูลนิธิฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิม ในพระราชูปถัมภ์ฯ) ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
Efficacy and Safety of Mathurameha (Nirund Pongsoiphet and Foundation forthe promotion of Thai Traditional Medicine Formula) for type 2 diabetes mellitus treatment.
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
-
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
0
0
คำสำคัญของงานวิจัย
มธุรเมหะ, ระดับน้ำตาลในเลือด, เบาหวานชนิดที่ 2
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและคร่าชีวิตได้ในที่สุด ปัจจุบันการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกและยาสมุนไพรถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ยามธุระเมหะ เป็นยาที่โรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ใช้ในการรักษาเบาหวานนานกว่า 30 ปี โรงพยาบาลวังน้ำเย็นและโรงพยาบาลวัฒนานครจังหวัดสระแก้ว ได้นำยามธุรเมหะฯ มาใช้แต่ยังไม่มีการเก็บข้อมูลประสิทธิผลและความปลอดภัย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยามธุรเมหะฯ ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลวังน้ำเย็นและโรงพยาบาลวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลการใช้ยามธุรเมหะฯ จากเวชระเบียนและฐานข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ประกอบด้วยข้อมูลของระดับน้ำตาลในเลือด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลข้างเคียงต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ระหว่างการใช้ยามธุรเมหะฯ โดยแบ่งกลุ่มที่ศึกษาเป็น 5 กลุ่ม ตามกลุ่มยาที่ได้รับยา และเปรียบเทียบค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังได้รับยามธุรเมหะฯโดยใช้สถิติ Wilcoxon sign rank test และ Pair t test ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 351 คน ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยามธุรเมหะฯ ชนิดเดียวนั้นถึงแม้จะไม่พบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.646) และพบว่าการใช้ยามธุรเมหะฯ ร่วมกับยาแผนปัจจุบันในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรียนั้นระดับน้ำตาลในเลือดมีแนวโน้มลดลง ในครั้งที่ 1 ถึง 4 ที่ติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าพีเท่ากับ 0.013 0.009 0.010 และ 0.004 ตามลำดับ พบว่ามีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม และทั้ง 3 กลุ่มระดับน้ำตาลในเลือดสะสมนั้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าพีเท่ากับ 0.484, 0.500, และ 0.761 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่ามีระดับแอลดีแอล คลอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าพีน้อยกว่า 0.05 ค่าการทำงานของตับและไตอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีความรุนแรงของการดำเนินโรค ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามธุรเมหะฯ ที่รุนแรง สรุปและข้อเสนอแนะ จากการใช้ยามธุรเมหะฯ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และมีการติดตามผลการรักษา 3 ปีนั้น แสดงให้เห็นว่ายามธุรเมหะฯ อาจเป็นสมุนไพรทางเลือกที่อาจนำมาใช้ร่วมกับยาเบาหวานแผนปัจจุบันในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงระดับน้อยถึงปานกลาง ซึ่งขนาดยามธุรเมหะฯ ที่ใช้ต่ำสุดและสูงสุดเท่ากับ 350 และ 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน ในอนาคตหากใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันอาจใช้ร่วมกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย เพราะมีสมุนไพรในตำรับ 3 ตัวที่มีกลไกการออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินที่ตับอ่อนเช่นเดียวกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย หากเป็นไปได้ควรมีการศึกษายามธุรเมหะฯ ทั้งในระดับเซลล์ ในสัตว์ทดลอง เพื่อยืนยันการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน ทดสอบความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง และควรมีการศึกษาแบบไปข้างหน้าในคน โดยการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยามธุรเมหะฯ กับยาแผนปัจจุบันอย่างเดียวเพื่อเป็นการยืนยันประสิทธิผลของยามธุรเมหะฯ ที่แน่ชัดต่อไป
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
สำนักงานบริหารกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
Call number/ISBN
02-5910787-8
ภาษาที่ใช้
ไทย
เอกสาร
เอกสาร
กภท. 17-2557 บทคัดย่อ.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน