คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดขมิ้นชันต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากสารทึบรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนและขยายหลอดเลือดหัวใจ
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
Effect of curcuminoids on contrast-induced nephropathy after coronary intervention
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
วรรณวรางค์ วงศ์เจริญ
ยุติธรรม สุคีตา
จันทร์จิรา จิตรักนที
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
2
3
คำสำคัญของงานวิจัย
สารสกัดขมิ้นชัน, ภาวะไตวายเฉียบพลันจากสารทึบรังสี, การสวนหัวใจ, การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
ภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สeคัญหลังจากได้รับสารทึบรังสี สารสกัดขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ แต่ฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันยังคงไม่ทราบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัดขมิ้นชันในการป้องกันการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากสารทึบรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจหรือการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด วิธีการศึกษา มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมด 114 คน ที่ได้รับการสวนหัวใจหรือการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด สุ่มเพื่อรับสารสกัดขมิ้นชัน 4 กรัมต่อวัน (n = 56) เป็นเวลา 2 วัน (1 วันก่อนและ 1 วันหลังการผ่าตัด) หรือยาหลอก (n = 58) ได้รับการประเมินระดับ serum creatinine (SCr) ก่อนได้รับยาวิจัย และ 12, 24 และ 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารทึบรังสี พิจารณาการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการเพิ่มขึ้นของระดับ SCr ≥ 0.3 mg / dl ใน 48 ชั่วโมงหลังได้รับสารทึบรังสี และตรวจสอบการเกิดอาการบาดเจ็บขนาดเล็กที่ไตโดยประเมินจากค่า Urine NGAL (uNGAL) ที่เพิ่มขึ้นหลังการสวนหัวใจหรือการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด ผลลัพธ์ ลักษณะพื้นฐานของอาสาสมัครมีความคล้ายคลึงกัน โดยค่าเฉลี่ยของ GFR เท่ากับ 79.84 ± 30.46 ml/min/1.73m2 ในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน และ 70.56 ± 26.77 ml / min / 1.73m2 ในกลุ่มยาหลอก กลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันเจ็ดรายและกลุ่มที่ได้รับยาหลอกแปดราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (ร้อยละ 12.7% เทียบกับร้อยละ 14.0 ตามลาดับ p> 0.05) และพบว่าค่า uNGAL เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (54.46 ng / mL เทียบกับ 64.11 ng / mL, p = 0.44) และ ค่า uNGAL ลดลงในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน (64.79 ng / mL vs. 61.31 ng / mL, p = 0.78) แต่ยังไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ จากการวิจัยไม่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวิจัย สรุป การศึกษานำร่องนี้แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัดขมิ้นชัน ในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจหรือการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดสารสกัดขมิ้นชันอาจป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อยของไตที่ตรวจพบโดย uNGAL ที่ลดลงหลังจากการทาหัตถการในกลุ่มผู้ป่วยในการศึกษาวิจัยนี้ การค้นพบนี้จาเป็นต้องได้รับการยืนยันในประชากรกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดของสารขมิ้นชันต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากสารทึบรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนและขยายหลอดเลือดหัวใจ.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ขมิ้น : Curcuma longa L.
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน