คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนู
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
Acute and Chronic Toxicities of Phlai (Zingiber cassumunar) Extract in Rats
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
อรพรรณ โพชนุกูล
สีวบูรณ์ สิรีรัฐวงศ์
ปริรัตน์ คนสูง
กาญจนา ใจจ้อย
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
2
3
คำสำคัญของงานวิจัย
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
ไพล (Zingiber cassumunar Roxb.) เป็นสมุนไพรที่ใช้ในตาราแพทย์แผนไทย โดยใช้เหง้าไพลในการรักษาโรคหืด อย่างไรก็ตามความรู้ในเรื่องความเป็นพิษของพืชชนิดนี้ยังมีน้อย การวิจัยนี้จึงทาการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนูขาวเพศผู้และเพศเมีย วัสดุและวิธีการ: ทาการสกัดเหง้าไพลด้วยethyl alcohol 95% โดยใช้ Soxhlet apparatus เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทาสารสกัดให้แห้งโดย rotary evaporation แล้วนาสารสกัดไพลมาตรฐาน (Specific Phlai Extract, SPE)ไปตรวจสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและรื้อรังในหนู ในการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันหนูขาวเพศผู้และเพศเมียถูกป้อนด้วยSPEในขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวในครั้งเดียว (single dose) และทาการประเมินอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลันและชั่งน้าหนักตัวทุกวันติดต่อกัน 14 วัน เมื่อสิ้นสุดการทาลองวันที่ 14 ทาการชั่งน้าหนักอวัยวะ ตรวจสอบลักษณะทางกายวิภาคและพยาธิวิทยา ส่วนการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังในหนูขาวทั้งเพศผู้และเพศเมียกระทาโดยการป้อน SPE ขนาด 0.3, 3, 30, 11.25, 112.5 และ 1,125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวทางปากทุกวันเป็นเวลา 270 วันและ 28 วันภายหลังจากได้รับ SPE ไป 270 วัน (กลุ่มทดลองแบบติดตามผล ,satellite) แล้วทาการชั่งน้าหนักอวัยวะ ตรวจลักษณะทางกายวิภาคและพยาธิวิทยา ผลการวิจัย: การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันไม่พบความผิดปกติใดๆจากป้อน SPE ครั้งเดียวในขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวในหนูขาว เมื่อทาการประเมินพฤติกรรมน้าหนักตัว น้าหนักอวัยวะ ลักษณะทางจุลกายวิภาคไม่พบความผิดปกติใดๆเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ากลั่น ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการได้รับ SPE ขนาด 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวครั้งเดียวทางปากไม่ก่อพิษเฉียบพลันในหนูขาว การศึกษาความเป็นพิษแบบเรื้อรังพบว่าจากการสังเกตอาการ พฤติกรรมและตรวจสุขภาพสัตว์ทดลองภายหลังจากการป้อนสารทดสอบไม่พบว่ามีความผิดปกติใดๆ ของหนูขาวกลุ่มที่ได้รับสารทดสอบทุกกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ในวันที่ 270 ของกลุ่มที่ได้รับสารทดสอบและกลุ่มควบคุมและวันที่ 298 ของกลุ่มทดลองแบบติดตามผล ได้มีการชั่งน้าหนักตัวสุดท้าย น้าหนักอวัยวะ การผ่าพิสูจน์ซากสัตว์ทดลอง การตรวจค่าโลหิตวิทยา ค่าเคมีคลินิกของเลือดและการตรวจจุลกายวิภาค ไม่พบว่ามีความผิดปกติใดที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เมื่อนาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของอาการ พฤติกรรมและการตรวจสุขภาพสัตว์ทดลองสามารถสรุปได้ว่าการได้รับSPEในขนาด 0 .3, 3, 30, 11.25, 112.5 และ 1,125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้าหนักตัวทางปากเป็นเวลา 270 วันไม่ก่อพิษเรื้อรัง บทสรุป: ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าสารสกัดไพลมีสารสาคัญในไพลไม่มีสารที่ก่อให้เกิดความเป็นผิดปกติแบบเฉียบพลันและเรื้อรังในหนู
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
โครงการวิจัยย่อยที่ 4 ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดไพลในหนู.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน