คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
การศึกษาฤทธิ์ในการลดปวดอักเสบของสารสกัดจากผิวมะกรูดเพื่อพัฒนาเป็นตำรับยาทารักษาอาการปวดอักเสบ
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
Anti-inflammatory study of Kaffir lime peel extract for development of topical applications in inflammation treatment
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
วุฒิชัย วิสุทธิพรต
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
2
3
คำสำคัญของงานวิจัย
มะกรูด, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฟูแรนโนคูมาริน
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
มะกรูด (Citrus hystrix D.C.) จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยพบว่ามะกรูดถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร เครื่องสำอางและตำรับยาแผนโบราณหลายชนิด โดยมีงานวิจัยก่อนหน้านี้ พบว่าสารสกัดจากผิวมะกรูดมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบรวมถึงฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพได้ดี จึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของสารสกัดจากมะกรูดจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนมาก จากการศึกษาวิจัยพบว่าสารสกัดจากเปลือกของผลมะกรูดมีองค์ประกอบสารกลุ่ม terpenoids และ coumarin หลายชนิดซึ่งส่งผลให้มะกรูดมีฤทธิ์ทางชีวภาพดังกล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะสารกลุ่ม furanocoumarin ที่พบในมะกรูดได้แก่ oxypeucedanin และ bergamottin ซึ่งมีรายงานวิจัยที่ระบุถึงฤทธิ์ในการต้านอักเสบของสารประกอบดังกล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานผลการศึกษาที่แน่ชัดถึงฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยับยั้งการอักเสบที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของสารกลุ่ม furanocoumarinในสารสกัดของผิวมะกรูด การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาถึงปริมาณสาร furanocoumarin ที่มีอยู่ในสารสกัดผิวมะกรูดที่ เตรียมได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลายต่างๆและ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากกระบวนการกลั่น รวมถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดที่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) และ lipoxygenase (LOX) และ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระจากการศึกษาพบว่าสารสกัดในกลุ่มแอลกอฮอล์มีองค์ประกอบของสารกลุ่ม furanocoumarin มากที่สุด โดยพบว่าสารสกัดจาก 50% ethanol 1 mg มีองค์ประกอบของ oxypeucedanin และ bergamottin คิดเป็น 150.77 ± 15.63 μg และ 150.56 ± 14.77 μg ตามลำดับ ในขณะที่ไม่พบ oxypeucedanin ในน้ำมันหอมระเหยและพบ bergamottin เพียง 4.13 ± 1.32 μg ในน้ำมันหอมระเหย 1 mg ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เคราติโนไซต์พบว่า สารสกัด 50% ethanol ไม่แสดงความเป็นในช่วงความเข้มข้น 1.95 – 1000 μg/mL ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยแสดงความเป็นพิษเมื่อมีความเข้มข้นมากกว่า 50 μg/mL ในการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า สารสกัด 95% ethanol มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดโดยมีค่า IC50 เมื่อตรวจวัดด้วยวิธี DPPH และ ABTS เท่ากับ 1.80 ± 0.02 mg/mL และ 0.27 ± 0.01 mg/mL ตามลำดับ ในการเปรียบเทียบฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX พบว่าสารสกัด 50% ethanol มีประสิทธิภาพในการยับยั้งที่สูงกว่าน้ำมันหอมระเหยเมื่อเปรียบเทียบที่ความเข้มข้น ที่เท่ากัน ในขณะที่ความสามารถในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ LOX ของน้ำมันหอมระเหยมีสูงกว่าสารสกัด 50% ethanol เมื่อเปรียบเทียบที่ความเข้มข้นที่เท่ากัน สำหรับการศึกษาการซึมผ่านผิวหนังเทียมของสาร furanocoumarin ที่อยู่ในสารสกัด 50% ethanol และน้ำมันหอมระเหยผ่านแผ่นผิวหนังจำลอง พบว่าสาร oxypeucedanin และ bergamottin ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังจำได้ไม่ถึง 10% และพบว่า bergamottin สามารถซึมผ่านผิวหนังจำลองได้ดีกว่า oxypeucedanin ประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างของค่า partition coefficient จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า สารสกัดผิวมะกรูดในแอลกอฮอล์มีองค์ประกอบของสาร furanocoumarin ทั้ง 2 ชนิดในปริมาณที่สูง และมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านการอักเสบที่ดี แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติ photosensitizer ของสาร furanocoumarin ทั้ง 2 ชนิดก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงหากต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทาภายนอกบรรเทาอาการปวดอักเสบ นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดจัดเป็นวัตถุดิบที่น่าสนใจสำหรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดอักเสบสำหรับทาภายนอกทั้งนี้เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเหมือนกับสารสกัดในแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะมีประสิทธิผลที่น้อยกว่าแต่น้ำมันหอมระเหยก็มีปริมาณสาร furanocoumarin ที่น้อยกว่าสารสกัดในแอลกอฮอล์
วันเดือนปีที่พิมพ์
ที่อยู่ผู้พิมพ์
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
การศึกษาฤทธิ์ในการลดปวดอักเสบของสารสกัดจากผิวมะกรูดเพื่อพัฒนาเป็นตำรับยาทารักษาอาการปวดอักเสบ.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
มะกรูด : Citrus hystrix DC.
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน