คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
โครงการจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของไทย
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
-
ชื่อเรื่อง (ภาษาจีน)
สถานะของงานวิจัย
เสร็จสิ้นการดำเนินการ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - นามสกุล
e-mail
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เจ้าของ/ผู้พิมพ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เจ้าของลิขสิทธิ์
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชนิดของเอกสาร
บทคัดย่อ
วิจัย
การแพทย์แผนไทย
ประเภทของงานวิจัย
วิทยาศาสตร์
2
3
คำสำคัญของงานวิจัย
บทคัดย่อ/สาระสำคัญ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรและ ยาแผนปัจจุบัน (herb-drug interactions) จากบทความและรายงานการศึกษาวิจัยในคน สัตว์ทดลอง และหลอดทดลอง ของสมุนไพรที่มีการใช้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ชะเอมเทศ มะขามป้อม พริกไทย ดีปลี ชุมเห็ดเทศ มะขามแขก ขมิ้นชัน ขิง กระเจี๊ยบแดง มะระขี้นก ไพล ฟ้าทะลายโจร เถาวัลย์เปรียง หญ้าหนวดแมว และรางจืด และสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งในรูปยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ กระเทียม ค าฝอย ขึ้นฉ่าย แปะก๊วย เห็ดหลินจือ กระชายด า และโสม โดยวิเคราะห์ถึงผลและกลไกการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา ได้แก่ อันตรกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์(pharmacokinetic interactions) ซึ่งมีผลให้ปริมาณของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือลดลง และอันตรกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic interactions) ซึ่งเกิดจากสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาโดยมีผลเสริมฤทธิ์ยา (synergistic effects) หรือลดฤทธิ์ยา (antagonist effects) โดยการเพิ่มปริมาณยาหรือเสริมฤทธิ์ยาในยาบางชนิดอาจทำให้เกิดความเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายได้หรือการลดปริมาณยาและลดฤทธิ์ยาอาจทำให้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล ดังนั้น ต้องระมัดระวังการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันในผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดัน เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น และโรคที่ต้องใช้ยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) การวิเคราะห์รายงานข้อมูลการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรทั้ง 22 ชนิดและยาแผนปัจจุบัน พบว่ามีสมุนไพรหลายชนิด เช่น กระเทียม ขมิ้นชัน ขิง พริกไทย ดีปลีแปะก๊วย เห็ดหลินจือ และโสม มีรายงานอันตรกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ โดยมีผลกระตุ้นหรือยับยั้งเอนไซม์ในตับ หรือ ไซโตโครม พี 450(cytochrome P 450; CYP450) และพี ไกลโคโปรตีน (P-glycoprotein; Pg) ซึ่งอยู่ในกระบวนการเมแทบอลิซึมและการขนส่งของยาในร่างกาย มีผลให้ระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้นหรือลดลง สมุนไพรบางชนิดมีรายงานเกิดอันตรกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ เช่น ขมิ้นชัน กระเทียม และแปะก๊วย มีผลเสริมฤทธิ์ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออก หรือเลือดหยุดยาก มะระขี้นกมีผลเสริมฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของยารักษาเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ ชะเอมเทศมีผลลดฤทธิ์ของยาลดความดันโลหิต อาจท าให้การรักษาไม่ได้ผล เป็นต้น และนำข้อมูลมาเขียนเป็นบทความและจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน นำเสนอในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ผลของ การเกิดอันตรกิริยา กลไกการเกิดอันตรกิริยา ระดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล โอกาสหรือความเสี่ยงของการเกิดอันตรกิริยา ความรุนแรงของการเกิดอันตรกิริยา และคำแนะนำในการใช้ สำหรับเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบของฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและสืบค้นได้ง่าย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันแก่ผู้ป่วย และประชาชนผู้สนใจในการเลือกใช้สมุนไพรสำหรับการดูแลตนเอง สามารถเลือกใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการรักษาเมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ป้องกันการเกิดความเป็นพิษหรือไม่ให้ผลในการรักษาจากการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
วันเดือนปีที่พิมพ์
2/3/2563
ที่อยู่ผู้พิมพ์
สำนักงานบริหารกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
Call number/ISBN
ภาษาที่ใช้
เอกสาร
เอกสาร
การจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของไทย.pdf
สมุนไพรที่พบในงานวิจัย
ชื่อสมุนไพรที่ค้นพบในงานวิจัย
ไพล : Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr.
กระเจี๊ยบแดง : Hibiscus sabdariffa L.
ขมิ้น : Curcuma longa L.
ขิง : Zingiber officinale Roscoe
ชะเอม : Myriopteron extensum (Wight & Arn.) K. Schum.
1
2
3
4
ตำรับ/ยาเดี่ยวที่พบในงานวิจัย
ชื่อตำรับยาที่ค้นพบในงานวิจัย
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน