ชื่อพืช
ชื่อไทย |
ไมยราบ
|
ชื่อสามัญ/อังกฤษ |
Sensitive plant, Sleeping grass
|
|
|
ชื่อพื้นเมืองในประเทศอาเซียน
ลำดับ | ชื่อประเทศอาเซียน | ชื่อท้องถิ่น |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Mimosa pudica L.
|
ชื่อวงศ์ Family |
Mimosaceae
|
ชื่อ Genus |
Mimosa
|
ชื่อ Species |
pudica
|
ชื่อผู้ค้นพบ |
L.
|
ชื่อ Subspecies |
|
ชื่อผู้ค้นพบ |
|
ชื่อ Varieties |
|
ชื่อผู้ค้นพบ |
|
ชื่อ CULTIVAR |
|
ชื่อผู้ค้นพบ |
|
|
|
ชื่อพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Synonym)
ลำดับ | ชื่อพ้องทางวิทยาศาสตร์ |
|
|
เอกสารอ้างอิง
ลำดับ | ชื่อเอกสารอ้างอิง |
1 | The Plant List Version 1.1. A genus and species. [Online]. Available from: http://www.theplantlist.org/ |
2 | เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้เมืองไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช; 2557. (828 หน้า) |
|
|
ชื่อตามตำราการแพทย์แผนไทย
|
|
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอด (เหนือ) หญ้าหนามราบ (จันทบุรี) ระงับ (กลาง) กะหงับ (ใต้)
|
|
|
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะวิสัย |
|
ลักษณะสมุนไพร พืช/สัตว์/แร่ธาตุ |
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี แตกกิ่งก้านสาขาแผ่ไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 1.5 ม. ลำต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งตามลำต้นและกิ่ง ยาวประมาณ 5 มม. ผิวลำต้นเกลี้ยงหรือปกคลุมด้วยขนละเอียด ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ ก้านช่อใบยาว 1.5-5.5 ซม. มีขนละเอียดและสากปกคลุม แกนกลางช่อสั้นมากเป็นที่ติดของช่อใบย่อย 4 ช่อ จึงมีลักษณะเหมือนช่อใบย่อยทั้ง 4 ติดกันเป็นกลุ่มที่ปลายก้านช่อใบ หูใบแข็งและมีลักษณะคล้ายหนาม ใบย่อยเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ จำนวน 10-25 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานหรือคล้ายรูปเคียว ขนาดกว้าง 1-3 มม. ยาว 6-15 มม. ปลายใบโค้งมนเล็กน้อย ขอบใบเรียบและมีขนละเอียดกระจาย ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-1.5 ซม. จำนวน 1-5 ช่อ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงเล็กมาก โคนเชื่อมติดกันคล้ายจาน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีขาวหม่นอมชมพูหรือม่วงอมน้ำเงิน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นพูคล้ายสามเหลี่ยม 4 พู ยาว 2-2.5 มม. เกสรตัวผู้ 4 อัน แยกจากกัน ก้านเกสรสีชมพู ยาว 7-8 มม. อับเรณูสีเหลือง ยาวประมาณ 0.5 มม. เกสรตัวเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 0.5 มม. มี 1 ช่อง ก้านเกสรยาวไล่เลี่ยกับเกสรตัวผู้ ผลเป็นฝักอยู่รวมเป็นกระจุก จำนวน 10-20 ฝัก แต่ละฝักยาวแบน ขนาดกว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 15 มม. ภายในมี 4-6 ช่อง ผิวมีขนแหลมปกคลุมตลอด แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ เมล็ดรูปไข่ แบน ขนาดกว้าง 3.0 มม. ยาว 3.5 มม. ผิวเกลี้ยงเป็นมัน แก่แล้วเป็นสีดำ
|
ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ |
พบขึ้นทั่วไปตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ตามขอบถนนหนทาง ทั้งบริเวณที่อุดมสมบูรณ์หรือในที่แห้งแล้ง ตั้งแต่ระดับพื้นล่างจนภูเขาสูงประมาณ ม. ต่างประเทศพบได้ในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
พิกัดทางภูมิศาสตร์ |
|
|
|
|
สรรพคุณตามตำราไทย
ส่วนที่ใช้ | สรรพคุณตามตำราไทย |
ราก | ราก ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง แก้ปวดประจำเดือน ปวดข้อ ริดสีดวงทวารและเป็นยาระงับประสาท ต้น เป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดูขาว ขับโลหิตเสีย แก้ไตพิการและทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใบ ตำเป็นยาพอกแก้ปวดบวม แก้แผลเปื่อย แผลฝีหนอง แผลเรื้อรัง โรคพุพอง ไฟลามทุ่ง แก้เริมและงูสวัด ต้มหรือชงน้ำดื่ม แก้บิด ขับนิ่วและบำรุงร่างกาย ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ แก้นอนไม่หลับ แก้ไข้ ไข้หัด กระเพาะอาหารอักเสบ ไตพิการ หัวใจสั่นหรือหัวใจเต้นแรงผิดปกติ แก้กระษัย แก้เด็กเป็นตานขโมย แก้แผลฝีและผื่นคันตามตัว |
|
|
สรรพคุณตามพื้นบ้าน
ส่วนที่ใช้ | สรรพคุณตามตำราพื้นบ้าน |
|
|
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนจีน
ส่วนที่ใช้ | สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนจีน |
|
|
รสตัวยาสมุนไพร |
|
ลักษณะเครื่องยา |
-
|
ข้อมูลตัวอย่างเครื่องยา |
-
|
|
|
พื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร
ลำดับ | บริเวณที่ปลูก | จำนวน | กลุ่มผู้ปลูก | จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
|
|
พื้นที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย
|
|
การคัดเลือกพันธุ์(พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย)
|
|
การขยายพันธุ์
|
|
การปลูก/สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
|
|
การปฏิบัติดูแลรักษา
|
|
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
|
|
การจำหน่าย
|
|
|
|
องค์ประกอบทางเคมี
|
ส่วนเหนือดินพบสาร 7,3',4'-trihydroxy-3,8-dimethoxyflavone, 7,3',4'-triacetoxy-3,8-dimethoxyflavone, p-coumaric acid สารในกลุ่ม O-glycosyl flavonoids ได้แก่ isoquercitrin, avicularin, apigenin-7-O-?-D-glucoside สารในกลุ่ม C-glycosyl flavonoids ได้แก่ 4?-OH-maysin, cassiaoccidentalin B, orientin และ isoorientin ทั้งต้นพบสารในกลุ่ม C-glycosylflavones ได้แก่ 6,7,3',4'-tetra hydroxyl-8-C-[?-L-rhamnopyranosyl-(1 2)]-?-D-glucopyranosyl flavone, 5,7,3',4'-tetrahydroxy-8-C[?-D-apiose-(1 4)]-?-D-glycopyranosyl flavone นอกจากนี้ยังพบ 7, 8, 3', 4'-tetrahydroxyl-6-C-[?-L-rhamnopyranosyl-(1 --> 2)]-?-D-glucopyranosyl flavones, 5, 7, 4'-trihydroxyl-8-C-[?-L-rhamnopyranosyl-( --> 2)]-?-D-glucopyranosyl flavone, 5, 7, 3', 4'-tetrahydroxyl-6-C-[?-L-rhamnopyranosyl-(1 --> 2)]-?-D-glucopyranosyl flavone และ catcher
|
|
|
ภาพประกอบสมุนไพร
ชื่อไฟล์ | ประเภทของภาพ | ภาพสมุนไพร | Download |
|
|
การใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ
|
-
|
ข้อมูลอื่น/หมายเหตุ
|
ไมยราบมีลักษณะพิเศษที่ใบสามารถหุบได้ทันที เมื่อมีสิ่งใดมากระทบ ที่พบในไทยมีอยู่ 4 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ สายพันธุ์ hispida Brenan ซึ่งมีหูใบยาว 8-14 มม. ดอกตูมหุ้มด้วยขนแข็ง กลีบดอกตูมมีขนละเอียดสีเทาปกคลุมหนาแน่น สายพันธุ์อื่นที่พบน้อย ได้แก่ สายพันธุ์ tetrandra (Humb. & Bonpl. Ex Willd.) DC. ซึ่งมีหูใบยาว 4-8 มม. ดอกตูมมีขนแข็งเปราะหุ้มประปราย กลีบดอกตูมมีขนละเอียดสีเทาปกคลุมหนาแน่น และสายพันธุ์ unijuga (Duchass. & Walp.) Griseb. ซึ่งมีหูใบยาว 4-8 มม. ดอกตูมไม่มีขนแข็งเปราะปกคลุม และกลีบดอกตูมเกลี้ยง ไม่มีขนละเอียดปกคลุม
|
|
|
|
|
|