คลังความรู้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
คลังความรู้
เกร็ดความรู้
ถาม-ตอบ ข้อมูลสมุนไพร
เกี่ยวกับเรา
คลังความรู้
ข้อมูลสมุนไพร
ชื่อพืช
ชื่อไทย
พลูคาว
ชื่อสามัญ/อังกฤษ
Plu Kaow
ชื่อพื้นเมืองในประเทศอาเซียน
ลำดับ
ชื่อประเทศอาเซียน
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Houttuynia
cordata
Thunb.
ชื่อวงศ์ Family
Saururaceae
ชื่อ Genus
Houttuynia
ชื่อ Species
cordata
ชื่อผู้ค้นพบ
Thunb.
ชื่อ Subspecies
ชื่อผู้ค้นพบ
ชื่อ Varieties
ชื่อผู้ค้นพบ
ชื่อ CULTIVAR
ชื่อผู้ค้นพบ
ชื่อพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Synonym)
ลำดับ
ชื่อพ้องทางวิทยาศาสตร์
1
Polypara cochinchinensis
Lour.
2
Polypara cordata
Kuntze
เอกสารอ้างอิง
ลำดับ
ชื่อเอกสารอ้างอิง
1
The Plant List Version 1.1. A genus and species. [Online]. Available from: http://www.theplantlist.org/
2
เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้เมืองไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช; 2557. (828 หน้า)
ชื่อตามตำราการแพทย์แผนไทย
พลูคาว
ชื่อท้องถิ่น
ผักก้านตอง, ผักคาวตอง, ผักคาวทอง, fishwort, heartleaf
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะสมุนไพร พืช/สัตว์/แร่ธาตุ
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. มีกลิ่นคาว ลำต้นใต้ดินเป็นปล้อง ตามข้อมีราก ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนหรือออกสลับ รูปไข่ กว้าง 2.5-7.5 ซม. ยาว 3-9 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปหัวใจหรือรูปไต ขอบเรียบ ด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง เส้นโคนใบ 5-7 เส้น มีขนสั้นตามเส้นใบ ก้านใบยาว 1-4 ซม. โคนก้านแผ่กว้างโอบข้อ หูใบรูปขอบขนานติดแนบตามยาวที่ขอบข้างโคนก้านใบ ยาว 0.5-1.2 ซม. ปลายหูใบเรียวแหลม ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามยอดหรือตรงข้ามใบใกล้ยอด รูปทรงกระบอก กว้าง 5-8 มม. ยาว 2-2.5 ซม. โคนช่อมีใบประดับสีขาว 4 ใบ รูปหรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5-7 มม. ยาว 1-2 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. ดอกในช่อมีจำนวนมาก เรียงแน่นรอบแกนช่อ ดอกเล็กมาก ไม่มีก้านดอกและไม่มีกลีบดอก มีเฉพาะเกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 6 มม. อับเรณูสีเหลือง ยาวประมาณ 2 มม.รังไข่เหนือวงเกสรเพศผู้ มี 1 ช่อง มีออวุล 3-6 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน ปลายก้านโค้งและยอดเป็นตุ่มเล็ก ผล แบบผลแห้งแตก รูปคนโท เล็กมาก
ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นได้ตั้งแต่พื้นที่ราบต่ำไปจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,500 ม. ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากในภาคเหนือ มีทั้งที่ขึ้นตามธรรมชาติและเพาะปลูก
พิกัดทางภูมิศาสตร์
ความสำคัญของสมุนไพร
สรรพคุณตามตำราไทย
ส่วนที่ใช้
สรรพคุณตามตำราไทย
ใบ
แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้แผลแห้ง ทำให้แท้ง
ไม่ระบุส่วนที่ใช้
ใช้พอกฝีดูดหนองหัวฝี เรียกเนื้อ แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง ทำให้แผลแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนังทุกชนิด แก้ริดสีดวงงอก
ทั้งต้น
ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ฝีบวมอักเสบ แก้ปอดอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้บิด แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้หูชั้นกลางอักเสบ แก้ริดสีดวงทวาร
สรรพคุณตามพื้นบ้าน
ส่วนที่ใช้
สรรพคุณตามตำราพื้นบ้าน
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนจีน
ส่วนที่ใช้
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนจีน
รสตัวยาสมุนไพร
รสฝาดเล็กน้อย
ลักษณะเครื่องยา
ลำต้นแห้งรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. มีความยาวแตกต่างกันเปราะ เปลือกนอกสีเหลืองอมสีน้ำตาล มีรอยย่น เห็นข้อชัดเจน ข้อส่วนล่างมีรากติดอยู่ ใบออกสลับกันและม้วนงอกว้าง 3-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายเรียวแหลมขอบเรียบ ผิวด้านบนสีเขียวหม่นอมสีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม ก้านใบยาว 1.5-2 ซม. หูใบเป็นแผ่นยาวติดกับก้านใบ ดอกออกเป็นช่อที่ยอดสีน้ำตาลอมสีเขียว มีใบประดับ 4 ใบ กลิ่นคาว รสฝาดเล็กน้อย
ข้อมูลตัวอย่างเครื่องยา
พื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร
ลำดับ
บริเวณที่ปลูก
จำนวน
กลุ่มผู้ปลูก
จังหวัด
อำเภอ
ตำบล
พื้นที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย
การคัดเลือกพันธุ์(พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย)
การขยายพันธุ์
การปลูก/สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
การปฏิบัติดูแลรักษา
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
การจำหน่าย
องค์ประกอบทางเคมี
พลูคาวมีน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ร้อยละ 0.5 น้ำมันระเหยง่ายนี้ประกอบด้วยสารกลุ่มเทอร์พีน (terpenes) ได้แก่ แอลฟา-ไพนีน (α-pinene) แคมฟีน (camphene) เมอร์ซีน (myrcene) เจรานิออล (geraniol) แคริโอฟีลลีน (caryophyllene) 3-ออกโซโดเดคานอล (3-oxododecanal) เป็นต้น นอกจากนี้ พบสารกลุ่มเฟลโวนอยด์ (flavonoids) เช่น เคอร์ซิทริน (quercitrin) ไอโซเคอร์ซิทริน (isoquercitrin) รูทิน (rutin) ไฮเพอริน (hyperin) สารกลุ่มแอลคาลอยด์ (alkaloids) เช่น อะริสโทแล็กแทมเอ (aristolactam A) พิเพอโรแล็กแทมเอ (piperolactam A) สารอื่นๆ ที่พบเช่น บีตา-ซิโทสเตอรอล (β-sitosterol) กรดพาลมิติก (palmitic acid) กรดโอเลอิก (oleic acid)
ภาพประกอบสมุนไพร
ชื่อไฟล์
ประเภทของภาพ
ภาพสมุนไพร
Download
พลูคาว_Page_1.jpg
download
พลูคาว_Page_2.jpg
download
พลูคาว_Page_3.jpg
download
การใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ
ตำราสรรพคุณยาไทยว่า พลูคาวใช้ใบปรุงเป็นยาแก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย ทำให้แห้ง แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพรีคลินิกพบว่าสารสกัดพลูคาวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดเริม ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Sarcina ureae ฤทธิ์ต้านอักเสบ และฤทธิ์ขับปัสสาวะ
ข้อมูลอื่น/หมายเหตุ
1. มีการสังเคราะห์สาร 3-ออกโซโดเดคานอล บิส (ไอโซนิโคทินิก ไฮดราไซด์) [3-oxododecanal bis(isonicotinic hydrazide)] จากสาร 3-ออกโซโดเดคานอลในพลูคาว และพบว่าอนุพันธุ์ดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อวัณโรค (tuberculostatic) 2. ตำราสมุนไพรไทย-จีน แนะนำให้ใช้พลูคาว 15-30 ก. ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด และวัณโรค
เอกสารอ้างอิง
ลำดับ
ชื่อเอกสารอ้างอิง
จำนวนคนเข้าใช้งาน
คน